IT support

 

ติดต่องาน IT เกี่ยวกับระบบ PMS โทร.35919
AMATA KONGSAINGERN

สอบถามเกี่ยวกับ PMS/OD

 

สอบถามเกี่ยวกับ PMS และ OD โทร.36227
PATIPAK WIPASAKUNDEN

คำถามที่พบบ่อย

เกี่ยวกับระบบ PMS

Q: ระบบ PMS คืออะไร

A: ระบบ PMS หรือ Performance Management System คือเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติงาน ซึ่งปัจจุบันบุคลากรสามารถบันทึกเป้าหมายของตนเอง และให้ผู้บังคับบัญชารับรองได้ และผู้บังคับบัญชาสามารถใช้ในการถ่ายทอดเป้าหมายของตนเองลงไปยังหน่วยงานผ่านเครื่องมือนี้

Q: วัตถุประสงค์ของการใช้ระบบ PMS ในปี 2566

A:

เพื่อสร้างทักษะการโค้ชให้ผู้บังคับบัญชาอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้บุคลากรทุกคนในองค์กรมีเป้าหมาย และแผนการพัฒนาบุคลากรรายบุคคล (IDP)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1.การตั้งเป้าหมายจากระดับองค์กรลงสู่ระดับหน่วยงาน และบุคคลบันทึกลงในระบบ PMS ทั้งหมด

2. ทุกหน่วยงานมีการจัดประชุมหรือโครงการในหน่วยงานต่างๆ เพื่อการตั้งความคาดหวังมีชัดเจน มีความร่วมมือกับบุคลากร และยึดโยงกับเป้าหมายองค์กร

3. บุคลากรร้อยละ 100 มีเป้าหมาย และ IDP บันทึกลงในระบบ PMS

4. ผู้บริหาร และผู้บังคับบัญชาสามารถทำการโค้ชให้แก่บุคลากรในหน่วยงานได้

Q: วิธีการใช้ระบบ PMS

A: สามารถเข้าสู่ระบบ PMS ได้ที่ https://mis.med.cmu.ac.th/pms/ หรือที่หน้าเว็บไซต์ศูนย์มีดี และงานบริงานบุคคล

และสามารถศึกษา คู่มือการใช้งานระบบ PMS ได้ที่นี่

Q: OKRs คืออะไร

A: OKRs คือคำย่อมากจาก Objective and Key Results หรือว่า วัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สำคัญ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายและนำไปสู่การปฏิบัติให้สำเร็จ สามารถเรียนรู้การเขียน/ตั้ง OKRs ได้ที่นี่ คลิก

Individual OKRs กับ OKRs ของหน่วยงาน

Q: Individual OKRs คืออะไร แล้วต่างอย่างไรกับ OKRs ของหน่วยงาน

A: Individual OKRs คือ วัตถุประสงค์และผลลัพธ์ที่สำคัญของบุคลากรแต่ละคน ซึ่งแตกต่างจาก OKRs ของหน่วยงานตรงที่ OKRs ของหน่วยงานนั้นส่วนใหญ่จะเป็น OKRs ของหัวหน้าหน่วยงานนั้นๆ

ดังนั้น OKRs ของบุคลากรแต่ละคนในหน่วยงานนั้น ต้องมีความเชื่อมโยงจาก OKRs ของหัวหน้าและกลยุทธ์ ดังนี้

Alignment ในแนวดิ่งและแนวราบ

 

1.Vertical (แนวดิ่ง)

  • หน่วย และบุคลากร ตั้ง OKRs ที่สามารถตอบสนองต่อ OKRs ของหน่วยงาน หรือผู้บังคับบัญชาของตนเอง
  • สามารถแสดงได้ว่ามีความยึดโยง align ไปกับเป้าหมายขององค์กร

2.แนวราบ (Horizontal)

  • การ alignment ในแนวราบช่วยสนับสนุนความเข้าใจการทำงานแบบ cross-functional และการทำงานร่วมกัน
  • เป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการสนทนาระหว่างหน่วยงาน เพื่อค้นพบสิ่งที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน และจับสิ่งนั้นมาเป็น OKRs ของคุณ

ประเภทของ OKRs

Q: ต้องรอ OKRs ของหัวหน้าสังกัดได้รับการรับรองก่อนหรือไม่ ถึงจะเริ่มตั้ง OKRs ของตนเองได้

A: OKRs หลักๆจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Committed Goal : วัตถุประสงค์ที่ต้องทำ เป้าหมายในกลุ่มนี้คือตัววัดต่างๆ ขององค์กรที่ต้องทำเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ซึ่งฝ่ายบริหารจะกำหนดให้วัตถุประสงค์เหล่านี้ไว้ในระดับองค์กร ส่วนบุคลากรจะถูกกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ที่ระดับตามที่สังกัด
  • Aspiration Goal : วัตถุประสงค์ที่อยากทำ เป้าหมายในกลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นภาพที่ใหญ่กว่า มีความเสี่ยงสูงกว่า เป็นเรื่องการเติบโตขององค์กร วัตถุุประสงค์นี้เกิดจากคนไหน หน่วยงานไหน ระดับไหนในองค์กรก็ได้ วัตถุประสงค์นี้เมื่อกำหนดแล้วจะต้องระดมสรรพกำลังจากคนทั้งองค์กรมาช่วยกัน เพราะเป็นเรื่องใหญ่มากๆ ยากมากๆ ที่จะทำให้สำเร็จได้เพียงคนบางส่วนขององค์กร

ดังนั้นถ้าหากคุณจะตั้งวัตถุประสงค์ที่อยากทำ ก็ไม่จำเป็นต้องรอ OKRs ของหัวหน้าให้ได้รับการรับรองก่อนได้ แต่ถึงอย่างไรนั้น ก็ยังต้องคำนึงถึงบริบท วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ขององค์กร และคำนึงถึง alignment ด้วยด้วย

บันทึกแล้วไม่ครบทุกช่อง

Q: ​​​​​​​ถ้าหากบันทึกแล้วข้อมูลหายสามารถดำเนินการแก้ไขเบื้องต้นดังนี้