เรียน บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตามที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน  (MEDCMU Performance Management) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและบุคลากรมีความผูกพัน โดยมีกำหนดการที่ครอบคลุมการตั้งเป้าหมาย ทบทวนตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน MEDS Check-in และการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะฯ ตลอดจนสนับสนุนการยกย่องชมเชยและการให้รางวัลแก่บุคลากร

 

กฎ/ระเบียบ/ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

1. รายงานการประชุมคณะกรรมการด้านทรัพยากรบุคคล​ ครั้งที่ 4/2567​ คณะแพทยศาสตร์ มช. วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม​ 2567  เรื่อง ทบทวนประสิทธิผลระบบ PMS (พ.ศ. 2564 – 2568)

2. ประกาศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง  แนวทางเอกสารเกี่ยวกับแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยประจำ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสัดส่วนการประเมินผลการปฏิบัติงาน พศ. 2567

3. รายงานการประชุมกรรมการบริหารคณะฯ วันที่ 17 ตุลาคม 2567 เรื่อง กลยุทธ์ MEDCMU การถ่ายทอดเป้าหมาย (Goal cascading) และกำหนดการบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS) ประจำปีงบประมาณ 2568

ที่ประชุมคณะกรรมการด้านทรัพยากรบุคคลมีมติ ดังนี้

  1. รับรอง Corporate’s KPIs ประจำปี 2568
  2. ปรับปรุงกระบวนการถ่ายทอดเป้าหมายในปีงบประมาณ 2568 โดยจำแนกประเภท KPIs ให้มุ่งเน้นลูกค้าและธุรกิจ, intelligence risk และ  innovation
  3. ให้ Dean , N-1 , N-2 one on one ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายสู่หน่วยงานภายในเวลาที่กำหนด ตามที่เสนอ
  4. แจ้งกำหนดการบริหารผลการปฏิบัติงานในระบบ PMS ประจำปี พ.ศ. 2568

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง.

– ตามที่คณะแพทยศาสตร์ได้ดำเนินการพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (MEDCMU PMS) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ทำให้ระบบ PMS มีความเข้มแข็งและเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานประจำวัน

ในปี 2568 คณะฯ มีแนวทางที่จะขยายมิติการพัฒนาองค์กรไปสู่การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดและชื่อโครงการที่เหมาะสม ทั้งนี้ คณะฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบ MEDCMU PMS อย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรทุกระดับ

จึงขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรทั้งในด้านการบริหารผลการปฏิบัติงานและการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568 โดย HR จะประชาสัมพันธ์รายละเอียดและแนวทางการดำเนินงานให้ทราบในโอกาสต่อไป-

กำหนดการบริหารผลการปฏิบัติงาน MEDCMU PMS พ.ศ.2568

 

ลำดับ หัวข้อตามระบบ PMS รายละเอียด ผู้เกี่ยวข้อง ช่วงเวลา
1 MEDS Check-in ครั้งที่ 1 (การตั้งเป้าหมาย) ถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ และตั้งเป้าหมาย ในระบบ PMS https://mis.med.cmu.ac.th/pms บุคลากรทุกคน 1 ต.ค. 67 – 30 พ.ย. 67
2 ทบทวนผลการปฏิบัติงาน และบันทึกข้อมูลสำคัญ และความก้าวหน้าลงในระบบ PMS (MEDS Check-in ครั้งที่ 1) บุคลากรทุกคน 1 ธ.ค. 67 – 31 ธ.ค. 67
3 MEDS Check-in ครั้งที่ 2 (การบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง) MEDS Check-in ครั้งที่ 2 และบันทึกข้อมูลสำคัญ และความก้าวหน้าลงในระบบ PMS บุคลากรทุกคน 1 ม.ค. 68 – 31 มี.ค. 68
4 MEDS Check-in ครั้งที่ 3 (การบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง) MEDS Check-in ครั้งที่ 3 และบันทึกข้อมูลสำคัญ และความก้าวหน้าลงในระบบ PMS บุคลากรทุกคน 1 เม.ย. 68 – 30 มิ.ย. 68
5 กรอกผลการปฏิบัติงาน (JA) CMU MIS บุคลากรทุกคนกรอกผลการปฏิบัติงาน (JA) ในระบบ CMU MIS https://mis.cmu.ac.th/ บุคลากรทุกคน กรอกได้ถึง 31 พ.ค. 68
6 Performance Evaluation (ประเมินผลการปฏิบัติงาน) ทบทวนผลการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามในระบบ PMS และ CMU MIS (TORJA) หัวหน้า และ บุคลากรทุกคน ประเมิน PMS ตนเอง 1 มิ.ย. 68- 25 ก.ค. 68
7 Performance & Talent Calibration คำนวณการประเมินผลการปฏิบัติงาน สัดส่วนตามประกาศคณะฯ HR และ ศูนย์มีดี 28 ก.ค.68
ขอผลเลื่อนเงินเดือนจากหน่วยงาน และ Calibration ผู้บริหาร หัวหน้าและ HR 15 ส.ค. 68
8
9 Reward & Recognition (การให้รางวัลและยกย่องชมเชย) การพิจารณาให้รางวัลและยกย่องชมเชยตามระบบของคณะฯ และเลื่อน/ขึ้นเงินเดือน HR และหน่วยงานที่รับผิดชอบ – การให้รางวัล ตลอดปีตามระบบ reward & recognition – ขึ้นเงินเดือน หลัง ต.ค.68

ติดต่อเกี่ยวกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน MEDCMU PMS (Performance Management System)

เกี่ยวกับการบริหารผลงาน/ระบบ MEDCMU PMS นายปฏิภาค วิภาสกุลเด่น โทร. 36227

ทำไมต้องทำ PMS หรือต้องใช้ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (MEDCMU PMS: Performance Management System)
กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพช่วยให้บุคลากรเข้าใจว่างานของตนมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายและกลยุทธ์ของคณะฯ อย่างไรโดยการกำหนดความคาดหวังที่ชัดเจน (ผลลัพธ์ + การกระทำและพฤติกรรม) บุคลากรรู้ว่าต้องทำอะไรเพื่อประสบความสำเร็จ การใช้เป้าหมายและมาตรฐานช่วยให้หน่วยงานสามารถมุ่งเน้นที่สิ่งที่ต้องทำจริง ๆ และตัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป

การติดตามผลและการให้ข้อเสนอแนะอย่างสม่ำเสมอช่วยระบุปัญหาได้ทันเวลาและปรับทิศทางงานได้ ผ่าน MEDS Check-in การบริหารนี้ไม่เพียงช่วยประหยัดเวลา แต่ยังเป็นแรงจูงใจที่ดีให้บุคลากรและคณะฯ บรรลุความสำเร็จไปพร้อมกัน