การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ ให้เก่งกว่าเดิมและการรักษาคนเก่งใว้ให้ได้ กลายเป็นปัญหาร่วมของแทบทุกองค์กร
วิธีการหนึ่งที่ช่วยได้…คือผู้บริหารต้องเรียนรู้ “การบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ”
รายละเอียดคอร์ส
คำอธิบายหลักสูตร
แนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งงาน และการบริหารผู้มีความสามารถสูง แนวทางการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และออกแบบระบบการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การจัดทำระบบสมรรถนะให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ การวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพสำหรับพนักงานกลุ่มต่างๆ และหลักเกณฑ์ และแนวทางการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent)
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้
6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 10 นาที)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งงาน และการบริหารผู้มีความสามารถสูง
- ผู้เรียนสามารถออกแบบ และจัดทำระบบสมรรถนะให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การ เพื่อใช้ในการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ
- ผู้เรียนสามารถออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในระบบการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพตามโครงสร้างองค์กร หรือ Succession Management
- ผู้เรียนสามารถประเมินบุคคลและจัดทำแผนพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพสำหรับพนักงานกลุ่มต่าง ๆ
- ผู้เรียนสามารถกำหนดกลไกและแนวทางการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ
คุณสมบัติผู้เรียน
บุคคลทั่วไป ผู้ที่สนใจจะสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาการบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ นักศึกษา นักบริหารทรัพยากรมนุษย์ นักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และผู้บริหารองค์กร
เกณฑ์การวัดผล
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 70%
เนื้อหาในหลักสูตร
บทที่ 1: แนวคิด ทฤษฎี และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ การบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งงาน และการบริหารผู้มีความสามารถสูง
- 1.1 แนวคิด ทฤษฎี และการวางกลยุทธ์การบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ ผู้สืบทอดตำแหน่งและผู้มีความสามารถสูง (Talent)
- 1.2 กระบวนการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ ผู้สืบทอดตำแหน่ง และผู้มีความสามารถสูง (Talent)
บทที่ 2: การออกแบบ และจัดทำระบบสมรรถนะเพื่อใช้ในการบริหารความก้าวหน้าในสายอาชีพ
- 2.1 การออกแบบและจัดระบบสมรรถนะหลัก (Core Competency) และMapping กับตำแหน่งเป้าหมาย ในการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ
- 2.2 การออกแบบและจัดระบบสมรรถนะผู้นำ (Leadership Competency)และMapping กับตำแหน่งเป้าหมาย ในการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ
- 2.3 การออกแบบและจัดระบบสมรรถนะเฉพาะงาน (Function Competency) และMapping กับตำแหน่งเป้าหมาย ในการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ
บทที่ 3: การออกแบบระบบเครื่องมือการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพตามโครงสร้างองค์กร หรือ Succession Management
- 3.1 ออกแบบเครื่องมือประเมินสมรรถนะและศักยภาพเพื่อการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพ
- 3.2 ออกแบบเครื่องมือในการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ
- 3.3 กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมาย (Talent) เพื่อการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพตามกลุ่มงาน
- 3.4 กำหนดกลุ่มบุคลากรเป้าหมาย (Talent) เพื่อการบริหารความก้าวหน้าในอาชีพตามโครงสร้างตำแหน่ง
บทที่ 4: ประเมิน จัดทำแผนพัฒนาการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพสำหรับพนักงาน
- 4.1 ประเมิน จัดทำแผนพัฒนาการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพสำหรับพนักงานเพื่อความก้าวหน้าตามกลุ่มงาน
- 4.2 ประเมิน จัดทำแผนพัฒนาการวางแผนความก้าวหน้าในอาชีพสำหรับพนักงานเพื่อความก้าวหน้าอเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งแบบทดสอบหลังบทเรียน
บทที่ 5: การกำหนดกลไก ทางการบริหารพนักงานที่มีศักยภาพสูง (Talent) เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ
- 5.1 การบริหารแผนพัฒนาและการรักษา (Retention) ผู้มีความสามารถสูงเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพตามกลุ่มงาน (Career Management)
- 5.2 การบริหารแผนพัฒนาและการรักษา (Retention) ผู้มีความสามารถสูง เพื่อเป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง (Succession Management)
- 5.3 สรุปแนวทางการบริหารแผนพัฒนาและการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพสูงและการปรับใช้ในองค์กรในบริบทต่างๆ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
ผศ.ดร.เลิศชัย สุธรรมานนท์
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และอาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์การ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
lertchaisut@gmail.com
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
ดร.บำรุง สาริบุตร
อาจารย์ประจำ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารคนและกลยุทธ์องค์การ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์