เรียน บุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตามที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน (MEDCMU Performance Management) เพื่อสนับสนุนให้เกิดการทำงานที่ให้ผลการดำเนินการที่ดีและบุคลากรมีความผูกพัน โดยมีกำหนดการที่ครอบคลุมการตั้งเป้าหมาย ทบทวนตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน MEDS Check-in และการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของคณะฯ ตลอดจนสนับสนุนการยกย่องชมเชยและการให้รางวัลแก่บุคลากร
กฎ/ระเบียบ/ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
1. รายงานการประชุมคณะกรรมการด้านทรัพยากรบุคคล ครั้งที่ 4/2567 คณะแพทยศาสตร์ มช. วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2567 เรื่อง ทบทวนประสิทธิผลระบบ PMS (พ.ศ. 2564 – 2568)
2. ประกาศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง แนวทางเอกสารเกี่ยวกับแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยประจำ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสัดส่วนการประเมินผลการปฏิบัติงาน พศ. 2567
3. รายงานการประชุมกรรมการบริหารคณะฯ วันที่ 17 ตุลาคม 2567 เรื่อง กลยุทธ์ MEDCMU การถ่ายทอดเป้าหมาย (Goal cascading) และกำหนดการบริหารผลการปฏิบัติงาน (PMS) ประจำปีงบประมาณ 2568
ที่ประชุมคณะกรรมการด้านทรัพยากรบุคคลมีมติ ดังนี้
- รับรอง Corporate’s KPIs ประจำปี 2568
- ปรับปรุงกระบวนการถ่ายทอดเป้าหมายในปีงบประมาณ 2568 โดยจำแนกประเภท KPIs ให้มุ่งเน้นลูกค้าและธุรกิจ, intelligence risk และ innovation
- ให้ Dean , N-1 , N-2 one on one ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อถ่ายทอดเป้าหมายสู่หน่วยงานภายในเวลาที่กำหนด ตามที่เสนอ
- แจ้งกำหนดการบริหารผลการปฏิบัติงานในระบบ PMS ประจำปี พ.ศ. 2568
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย จะเป็นพระคุณยิ่ง.
– ตามที่คณะแพทยศาสตร์ได้ดำเนินการพัฒนาระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (MEDCMU PMS) มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปัจจุบัน และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ทำให้ระบบ PMS มีความเข้มแข็งและเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานประจำวัน
ในปี 2568 คณะฯ มีแนวทางที่จะขยายมิติการพัฒนาองค์กรไปสู่การจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยอยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดและชื่อโครงการที่เหมาะสม ทั้งนี้ คณะฯ ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบ MEDCMU PMS อย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริหาร หัวหน้างาน และบุคลากรทุกระดับ
จึงขอเชิญชวนบุคลากรทุกท่านร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาองค์กรทั้งในด้านการบริหารผลการปฏิบัติงานและการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568 โดย HR จะประชาสัมพันธ์รายละเอียดและแนวทางการดำเนินงานให้ทราบในโอกาสต่อไป-
กำหนดการบริหารผลการปฏิบัติงาน MEDCMU PMS พ.ศ.2568
ลำดับ | หัวข้อตามระบบ PMS | รายละเอียด | ผู้เกี่ยวข้อง | ช่วงเวลา |
1 | MEDS Check-in ครั้งที่ 1 (การตั้งเป้าหมาย) | ถ่ายทอดแผนกลยุทธ์ และตั้งเป้าหมาย ในระบบ PMS https://mis.med.cmu.ac.th/pms | บุคลากรทุกคน | 1 ต.ค. 67 – 30 พ.ย. 67 |
2 | ทบทวนผลการปฏิบัติงาน และบันทึกข้อมูลสำคัญ และความก้าวหน้าลงในระบบ PMS (MEDS Check-in ครั้งที่ 1) | บุคลากรทุกคน | 1 ธ.ค. 67 – 31 ธ.ค. 67 | |
3 | MEDS Check-in ครั้งที่ 2 (การบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง) | MEDS Check-in ครั้งที่ 2 และบันทึกข้อมูลสำคัญ และความก้าวหน้าลงในระบบ PMS | บุคลากรทุกคน | 1 ม.ค. 68 – 31 มี.ค. 68 |
4 | MEDS Check-in ครั้งที่ 3 (การบริหารผลงานอย่างต่อเนื่อง) | MEDS Check-in ครั้งที่ 3 และบันทึกข้อมูลสำคัญ และความก้าวหน้าลงในระบบ PMS | บุคลากรทุกคน | 1 เม.ย. 68 – 30 มิ.ย. 68 |
5 | กรอกผลการปฏิบัติงาน (JA) CMU MIS | บุคลากรทุกคนกรอกผลการปฏิบัติงาน (JA) ในระบบ CMU MIS https://mis.cmu.ac.th/ | บุคลากรทุกคน | กรอกได้ถึง 31 พ.ค. 68 |
6 | Performance Evaluation (ประเมินผลการปฏิบัติงาน) | ทบทวนผลการปฏิบัติงานและประเมินผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ตามในระบบ PMS และ CMU MIS (TORJA) | หัวหน้า และ บุคลากรทุกคน ประเมิน PMS ตนเอง | 1 มิ.ย. 68- 25 ก.ค. 68 |
7 | Performance & Talent Calibration | คำนวณการประเมินผลการปฏิบัติงาน สัดส่วนตามประกาศคณะฯ | HR และ ศูนย์มีดี | 28 ก.ค.68 |
ขอผลเลื่อนเงินเดือนจากหน่วยงาน และ Calibration | ผู้บริหาร หัวหน้าและ HR | 15 ส.ค. 68 | ||
8 | ||||
9 | Reward & Recognition (การให้รางวัลและยกย่องชมเชย) | การพิจารณาให้รางวัลและยกย่องชมเชยตามระบบของคณะฯ และเลื่อน/ขึ้นเงินเดือน | HR และหน่วยงานที่รับผิดชอบ | – การให้รางวัล ตลอดปีตามระบบ reward & recognition – ขึ้นเงินเดือน หลัง ต.ค.68 |
ติดต่อเกี่ยวกับการบริหารผลการปฏิบัติงาน MEDCMU PMS (Performance Management System)
เกี่ยวกับการบริหารผลงาน/ระบบ MEDCMU PMS นายปฏิภาค วิภาสกุลเด่น โทร. 36227
ทำไมต้องทำ PMS หรือต้องใช้ระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (MEDCMU PMS: Performance Management System)
กระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพช่วยให้บุคลากรเข้าใจว่างานของตนมีส่วนสำคัญต่อเป้าหมายและกลยุทธ์ของคณะฯ อย่างไรโดยการกำหนดความคาดหวังที่ชัดเจน (ผลลัพธ์ + การกระทำและพฤติกรรม) บุคลากรรู้ว่าต้องทำอะไรเพื่อประสบความสำเร็จ การใช้เป้าหมายและมาตรฐานช่วยให้หน่วยงานสามารถมุ่งเน้นที่สิ่งที่ต้องทำจริง ๆ และตัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป
การติดตามผลและการให้ข้อเสนอแนะอย่างสม่ำเสมอช่วยระบุปัญหาได้ทันเวลาและปรับทิศทางงานได้ ผ่าน MEDS Check-in การบริหารนี้ไม่เพียงช่วยประหยัดเวลา แต่ยังเป็นแรงจูงใจที่ดีให้บุคลากรและคณะฯ บรรลุความสำเร็จไปพร้อมกัน